![]() |
|||
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้คอมพิวเตอร์พกพา (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้น ป.2 |
|||
วันที่ 8-10 กรกฎาคม 2556 |
อำเภอแม่ลาน้อย |
ครู จำนวน 70 คน |
|
วันที่ 11-13 กรกฎาคม 2556 |
อำเภอแม่สะเรียง |
ครู จำนวน 68 คน |
|
วันที่ 15-17 กรกฏาคม 2556 |
อำเภอสบเมย |
ครู จำนวน 58 คน |
|
รวม |
3 อำเภอ |
ครู จำนวน 196 คน |
|
วันที่ 30-31 สิงหาคม 2556 ทีมงาคณะกรรมการดำเนินงานและครูแกนนำร่วมสรุปโครงการอบรม Tablet ปี 56 ณ ห้องประชุมแทมมารีน |
|||
เอกสารประกอบการอบรม |
|||
1. หน้าปก | |||
2. หน่วยที่ 1 ภาพการศึกษาไทยในอนาคต : สู่การศึกษาไทยภควันตภาพ ( PowerPont 1 2 ) | |||
3. หน่วยที่ 2 ความรู้เบี้ืองต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พกพา (Tablet) ( PowerPoint 1 2 ) | |||
4. หน่วยที่ 3 สื่อการเรียนรู้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (Tablet) ( PowerPoint 1 2 3 4 5 ) | |||
5. หน่วยที่ 4 การวางแแผนการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พก2 3พา (Tablet) ( PDF 1 2 PowerPoint 1 ) | |||
6. หน่วยที่ 5 ศูนย์บริการคอมพิวเตอร์พกพา (Tablet) เพื่อการเรียนการสอน ( PowerPoint 1 ) | |||
คู่มือประกอบการอบรมการติดตั้งสื่อชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในเครื่องแท็บเล็ต |
|||
1. การติดตั้ง OBEC EDU ป.2 | |||
2. การนำ content และ e-book ป.2 ลงแท็บเล็ต โดยใช้สาย Sync data | |||
3. การติดตั้ง OBECPDF ป.2 | |||
![]() |
![]() |
||
ผู้เข้าอบรมทุกคนกรุณาตอบแบบสอบถาม ดังต่อไปนี้ |
|||
1. แบบประเมินตนเอง หน่วยที่ 2 ก่อนและหลังอบรม | |||
2. แบบประเมินตนเอง หน่วยที่ 3 | |||
3. แบบประเมินแผนการสอน | |||
4. แบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดอบรม |
ภาพกิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการบูรณการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา(Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน
ปีงบประมาณ 2556 |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สรุปโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการบูรณการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ปีงบประมาณ 2556 |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความเป็นมา จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพของเด็กวัยเรียน ให้มีความรู้ทางวิชาการ ทักษะและสติปัญญาที่สามารถศึกษาหาความรู้และ ต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถปรับตัวให้รู้เท่าทันกับข่าวสารภายใต้บริบทแห่งการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็ว อันเป็นการช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาไปสู่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต และรัฐบาลภายใต้การนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายเร่งด่วนในการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา หรือเครื่องแท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC) ให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ.2555 และถัดมาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในปีการศึกษา พ.ศ.255 6 ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสม ตามหลักสูตรบรรจุลงในเครื่องแท็บเล็ตพีซี รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐาน การให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย ( One Tablet Per Child) มิใช่เป็นเพียงเครื่องมือให้กับนักเรียนใช้เรียนแทนหนังสือเรียนเท่านั้น แต่เครื่องแท็บเล็ตพีซีนี้สามารถทำอะไรได้อย่างมากมาย ขึ้นอยู่กับครู ผู้บริหารและผู้ปกครองจะนำเครื่องมือนี้ไปใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตามการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งความรู้ต่าง ๆ เป็นการสร้างความตื่นตัวให้กับเด็ก เยาวชนและประชาชนทุกระดับ จึงนับได้ว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ในการกระตุ้นให้เกิดรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างเด็กเล็กกับพ่อแม่ผู้ปกครองซึ่งยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ ในโลกกว้างและยังสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างเด็กในเมืองกับเด็กในชนบท สร้างโอกาสและพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถใช้ได้ในรูปแบบที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการการเรียนรู้รายบุคคล นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วตามพัฒนาการทางสมองที่เหมาะสม เรียนรู้อย่างมีความสุข และสามารถสร้างสิ่งที่ดีให้กับตนเองและสังคมได้ในอนาคต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ได้ตระหนักถึงความจำเป็นเรื่องนี้เป็นอย่างดี เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทสำคัญมากในการจัดการศึกษาปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยสำคัญที่จำเป็นต้องเร่งพัฒนา คือ “บุคลากร” เพราะถ้าหากบุคคลยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่มีทักษะในการใช้เครื่องแท็บเล็ตพีซีแล้วการนำเครื่องแท็บเล็ตพีซีไปใช้จัดการการเรียนการสอนย่อมไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางการศึกษา มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน และตรวจสอบคุณภาพการศึกษา จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการใช้เครื่องแท็บเล็ตพีซี เพื่อยกระดับการเรียนการสอนในเขตพื้นที่การศึกษา อันเป็นการตอบสนองตามนโยบายของรัฐบาล และหน่วยงานต้นสังกัดเป็นสำคัญ วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีความรู้และทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์พกพา ( Tablet) และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในปัจจุบัน 2. 2 เพื่อให้ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สามารถจัดการเรียนรู้บูรณาการใช้ Tablet เป็นเครื่องมือจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มตามศักยภาพ เป้าหมาย 3.1 เชิงปริมาณ ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาได้รับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการใช้คอมพิวเตอร์พกพา ( Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน จำนวน 186 คน 3.2 เชิงคุณภาพ ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีทักษะในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( Tablet) เพื่อจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ระยะเวลาดำเนินการ 4.1 ดำเนินการจัดฝึกอบรม เรื่อง การติดตั้งสื่อ Obec contents ในเครื่อง Tablet สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่าง วันที่ 13-15 มิถุนายน 2556 ณ ห้องบัวตอง สพป.มส. 2 โดยแบ่งเป็น 3 อำเภอ ดังนี้ วันที่ 13 มิถุนายน 255 6 อำเภอแม่ลาน้อย วันที่ 14 มิถุนายน 255 6 อำเภอแม่สะเรียง วันที่ 15 มิถุนายน 255 6 อำเภอสบเมย 4.2 ดำเนินการจัดประชุมวิทยากรแกนนำและคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อเตรียมการอบรมและปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตร ระหว่าง วันที่ 1-2 กรกฎาคม 2556 ณ สพป.มส. 2 4.3 ดำเนินการจัดฝึกอบรม เรื่อง การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่าง วันที่ 8-17 กรกฎาคม 2556 ณ ห้องบัวตอง สพป.มส. 2 โดยออกเป็น 3 อำเภอ ดังนี้ วันที่ 8-10 กรกฎาคม 255 6 อำเภอแม่ลาน้อย วันที่ 11-13 กรกฎาคม 255 6 อำเภอแม่สะเรียง วันที่ 15-17 กรกฎาคม 255 6 อำเภอสบเมย 4.4 ดำเนินการออกนิเทศติดตามผลการนำคอมพิวเตอร์พกพา (Tablet) ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ภายในโรงเรียนในสังกัด ระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2556 4.5 ดำเนินการจัดประชุมสรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการใช้คอมพิวเตอร์พกพา ( Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ระหว่างวันที่ 30-31 สิงหาคม 2556 ณ ห้องประชุมแทมมารีน รีสอร์ท อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน งบประมาณดำเนินการ จำนวนทั้งสิ้น 549,000 บาท การดำเนินงานการจัดฝึกอบรม มีขั้นตอนการทำงาน ดังนี้ ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงานตามโครงกา ร อบรมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการใช้คอมพิวเตอร์พกพา ( Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2556 ณ ห้องประชุมสาระวิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม โดยนำหลักสูตรเดิมจากปีที่ผ่านมา มาปรับปรุงและเพิ่มเติมเนื้อหาสาระให้เหมาะสมสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 หลักสูตรการอบรม เรื่อง การติดตั้งสื่อ Obec contents ในเครื่อง Tablet สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งมีหน่วยย่อย ดังนี้ หน่วยที่ 1 การสำรองข้อมูล และ การติดตั้ง Obec content หน่วยที่ 2 การติดตั้งสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หน่วยที่ 3 การใช้งานบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ส่วนที่ 2 หลักสูตรการอบรม เรื่อง การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งมีหน่วยย่อย ดังนี้ หน่วยที่ 1 ภาพอนาคตการศึกษา - อุดมภาพการศึกษา-ความหมาย บทบาทและอุดมการณ์ - การปรับเปลี่ยนบริบทเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน และห้องเรียน - บทบาทผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครู นักเรียน และสายสนับสนุน - เงื่อนไขความสำเร็จของการใช้คอมพิวเตอร์พกพาเพื่อการศึกษา - คุณธรรมและจริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์พกพาการศึกษา หน่วยที่ 2 ความรู้เบื้องต้นในการใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต - ลักษณะทั่วไปและส่วนประกอบของเครื่องแท็บเล็ตพีซี - การสร้าง Apps for Android - ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แท็บเล็ตของโรงเรียนนำร่อง สพฐ. - การตั้งค่าระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ - การถ่ายโอนข้อมูลระหว่างแท็บเล็ตกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หน่วยที่ 3 สื่อการเรียนรู้สำหรับคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต คุณค่าและความสำคัญของการใช้สื่อการเรียนรู้ การผลิต การใช้ และการประเมินสื่อการเรียนรู้ (การใช้สื่อ ICT) หน่วยที่ 4 การวางแผนพัฒนาการเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือ การเตรียมความพร้อมเพื่อใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตในห้องเรียน/การวิเคราะห์สื่อ และ Apps การวางแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต/การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 5 หน่วยบริการคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต - การตรวจนับและจัดส่งคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ไปสู่โรงเรียนต้นสังกัด - การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการใช้งานคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต - การสร้าง Apps for Android - ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แท็บเล็ตของโรงเรียนนำร่อง สพฐ. ดำเนินการจัดฝึกอบรมให้กับครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยแบ่งการจัดฝึกอบรมออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 เป็นการจัดฝึกอบรมในหลักสูตร เรื่อง การติดตั้งสื่อสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 Obec contents ระหว่าง วันที่ 13-15 มิถุนายน 2556 ณ ห้องบัวตอง สพป.มส. 2 โดยได้เรียนเชิญ ครูที่ผ่านการอบรมมาแล้ว หรือ ครูที่มีความรู้ด้าน ICT มาเข้ารับการอบรม เพื่อมาปฏิบัติการเปลี่ยนสื่อในเครื่อง tablet จากเดิมที่เป็นสื่อของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้เป็นสื่อของชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งได้แบ่งการจัดการอบรมออกเป็น 3 อำเภอ ดังนี้ วันที่ 13 มิถุนายน 255 6 อำเภอแม่ลาน้อย จำนวนผู้เข้าอบรม จำนวน 59 คน วันที่ 14 มิถุนายน 255 6 อำเภอแม่สะเรียง จำนวนผู้เข้าอบรม จำนวน 65 คน วันที่ 15 มิถุนายน 255 6 อำเภอสบเมย จำนวนผู้เข้าอบรม จำนวน 62 คน รวมทั้งสิ้น 186 คน ช่วงที่ 2 เป็นการจัดฝึกอบรมในหลักสูตรการอบรม เรื่อง การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ให้ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างวันที่ 8 -17 กรกฎาคม 2556 ณ ห้องบัวตอง สพป.มส. 2 ดำเนินการจัดฝึกอบรมการใช้คอมพิวเตอร์พกพา ( Tablet) สำหรับครูผู้สอนระดับประถมศึกษาปีที่ 2 ณ ห้องบัวตอง สพป.มส. 2 โดยออกเป็น 3 อำเภอ ดังนี้ วันที่ 8-10 กรกฎาคม 255 6 อำเภอแม่ลาน้อย จำนวนผู้เข้าอบรม จำนวน 59 คน วันที่ 11-13 กรกฎาคม 255 6 อำเภอแม่สะเรียง จำนวนผู้เข้าอบรม จำนวน 65 คน วันที่ 15-17 กรกฎาคม 255 6 อำเภอสบเมย จำนวนผู้เข้าอบรม จำนวน 62 คน รวมทั้งสิ้น 186 คน นิเทศติดตามผลการใช้แท็บเล็ตในการเรียนรู้ของนักเรียน คณะศึกษานิเทศก์ได้ดำเนินการนิเทศร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ค.ต.ป.) ในดำเนินการสอบทานติดตามการดำเนินงานโครงการจัดการเรียนการสอนด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( Tablet) ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยการสุ่มตรวจสอบโรงเรียนภายเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 จำนวน 4 โรง คือ โรงเรียนบ้านแม่สะเรียง โรงเรียนบ้านแม่จ๊าง โรงเรียนบ้านห้วยปลากั้ง และโรงเรียนบ้านดงหลวง ในระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม 2556 ต่อมาคณะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 ได้ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการนำแท็บเล็ตไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนภายเขตพื้นที่การศึกษา หลังจากที่ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมไปแล้ว ในระหว่างวันที่ 11-13 กันยายน 2556 โดยการสุ่มนิเทศ ณ โรงเรียนในศูนย์เครือข่ายป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จำนวน 9 โรง ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน ได้ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 เพื่อดำเนินงานสรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการฯ ในวันที่ 30-31 สิงหาคม 2556 ณ ห้องประชุมแทมมารีนรีสอร์ท อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการดำเนินงานการจัดฝึกอบรม จากการปฏิบัติงานตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โดยคณะกรรมการดำเนินงานในโครงการ ได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอนที่ได้กล่าวมาข้างต้น และได้จัดทำเครื่องมือเพื่อใช้ในการวัดและประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ โดยใช้แบบสอบถาม แบบประเมินค่า 5 ระดับ และคำถามปรายเปิด เพื่อนำไปสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการจัดการอบรมในครั้งนี้ โดยแบ่งประเด็นข้อคำถามออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 สถานะภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ประสบการณ์ทำงาน ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ซึ่งแบ่งข้อคำถามออกเป็น 6 ด้าน คือ ด้านกระบวนการ ด้านวิทยากร ด้านการให้บริการ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการนำความรู้ไปใช้ โดยให้น้ำหนักของแต่ละข้อคำตอบ คือ มากที่สุด ให้ค่าเป็น 5 มาก ให้ค่าเป็น 4 ปานกลาง ให้ค่าเป็น 3 น้อย ให้ค่าเป็น 2 น้อยที่สุด ให้ค่าเป็น 1 ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะอื่น ได้แก่ สิ่งที่ท่านพึงพอใจในการฝึกอบรมครั้งนี้ และ สิ่งที่ควรปรับปรุง แก้ไข เพื่อพัฒนาการฝึกอบรมครั้งต่อไป กำหนดเกณฑ์การประเมินระดับความพึงพอใจ ดังนี้ ค่าเฉลี่ย 4.50 - 5.00 หมายถึง มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.50 - 4.49 หมายถึง มาก ค่าเฉลี่ย 2.50 - 3.49 หมายถึง พอใช้ ค่าเฉลี่ย 1.00 - 2.49 หมายถึง ปรับปรุง สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
SD หมายถึง ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากการเก็บรวบรวมข้อมูลการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม ในส่วนที่ 1 และ ส่วนที่ 2 จำนวน 177 คน คิดเป็นร้อยละ 95.16 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งหมด โดยในการวิเคราะห์ผลข้อมูลครั้งนี้ จะนำจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามที่ได้นี้ ซึ่งเป็นประชากรส่วนมาก มาใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างในการอ้างอิงไปยังประชากรทั้งหมด โดยนำมาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ส่วนที่ 1 สถานะภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม มีผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ ตาราง 1 จำนวนและร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมตาม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำแนกตามสถานภาพส่วนตัว
จากตาราง 1 แสดงให้เห็นว่าผู้เข้ารับการอบรมตาม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 มีสถานะภาพดังนี้ เพศ ผู้เข้ารับการอบรมตาม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.36 เป็นผู้หญิง และร้อยละ 31.64 เป็นผู้ชาย อายุ ผู้เข้ารับการอบรมตาม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.02 มีอายุ 26 - 35 ปี รองลงมาร้อยละ 18.64 มีอายุ 36 - 45 ปี ร้อยละ 9.04 มีอายุ ต่ำกว่า 26 ปี และ 46 - 55 ปี และร้อยละ 2.26 มีอายุมากกว่า 55 ปี ตามลำดับ ประสบการณ์ทำงาน ผู้เข้ารับการอบรมตาม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.80 มีประสบการณ์ทำงาน ต่ำกว่า 5 ปี รองลงมาร้อยละ 27.12 มีประสบการณ์ทำงาน 5 - 10 ปี ร้อยละ 11.30 มีประสบการณ์ทำงาน สูงกว่า 15 ปี และร้อยละ 6.78 มีประสบการณ์ทำงาน 11 - 15 ปี ตามลำดับ ระดับการศึกษา ผู้เข้ารับการอบรมตาม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.79 มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี รองลงมาร้อยละ 11.86 มีการศึกษาในระดับปริญญาโท และร้อยละ 7.34 มีการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ตามลำดับ ตำแหน่ง ผู้เข้ารับการอบรมตาม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.88 มีเป็นครูผู้สอน รองลงมาร้อยละ 3.39 เป็นผู้บริหารโรงเรียน และร้อยละ 2.26 เป็นบุคลากรทางการศึกษา ตามลำดับ ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน ตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 มีผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ตาราง 2 ค่าเฉลี่ย ( อบรมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียน การสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556
จากตาราง 2 แสดงให้เห็นว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการดำเนินงานตาม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ด้านกระบวนการ ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( ด้านวิทยากร ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( ด้านการให้บริการ ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจโดยรวม เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( ด้านความรู้ความเข้าใจ ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจโดยรวม เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( ด้านการนำความรู้ไปใช้ ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจโดยรวม เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลการตอบแบบสอบถามของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 186 คน โดยมีผู้เขียนให้ข้อเสนอแนะในด้าน สิ่งที่พึงพอใจในการฝึกอบรมครั้งนี้ จำนวน 61 คน คิดเป็นร้อยละ 32.80 และด้านสิ่งที่ควรปรับปรุง จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 11.29 โดยคณะผู้จัดทำได้นำข้อเสนอแนะที่ได้ มาดำเนินการคัดกรอง จัดเรียง และเรียบเรียงประเด็นสำคัญต่าง ๆ โดยการบรรยายเชิงพรรณนา ซึ่งในการวิเคราะห์ผลข้อมูลครั้งนี้ จะนำจำนวนผู้ตอบที่ให้ข้อแนะนำทั้งหมด มาใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างในการอ้างอิงไปยังประชากรทั้งหมด โดยนำมาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ตาราง 3 จำนวนและร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมตาม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำแนกตาม ข้อเสนอแนะ
จากตาราง 3 แสดงให้เห็นว่าผู้เข้ารับการอบรมตาม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ สิ่งที่มีพึงพอใจในการฝึกอบรมครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมตาม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ส่วนใหญ่ร้อยละ 39.34 มีความพึงพอใจในตัววิทยากรที่มีองค์ความรู้ที่ดี มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ได้ดีมาก สามารถนำเสนอเนื้อหาสาระอย่างเป็นสัดส่วนระหว่างภาคทฤษฏีและปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม มีความตั้งใจ เอาใจใส่ ให้คำปรึกษา และปฏิบัติตนต่อผู้เข้ารับการอบรมด้วยคำพูดที่ไพเราะ และกริยาที่อ่อนน้อมน่ารักและเป็นกันเอง ให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดและทั่วถึง รองลงมาร้อยละ 36.07 พึงพอใจในการได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พกพา ด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ เทคนิคใหม่ ๆ ได้ฝึกทักษะประสบการณ์ในการใช้เครื่อง Tablet ในนำไปจัดการเรียนการสอน ได้เรียนรู้เนื้อหาสาระในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 การใช้งาน Application ต่าง ๆ การค้นหาและ Download ข้อมูล ทำให้เกิดแนวคิด ทักษะ และประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่สามารถนำความรู้และประโยชน์ได้รับไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และร้อยละ 11.48 พึงพอใจการได้รับบริการด้านสถานที่ อุปกรณ์ เอกสารประกอบการอบรมโสตทัศนูปกรณ์ มีความสะดวกสบายในการใช้งานในระบบ Internet มีบุคลากรให้ความช่วยเหลือและคอยให้บริการ และได้รับบริการทางด้านอาหารและเครื่องดื่มที่ดี และร้อยละ 3.28 มีความพึงพอใจในการบริหารการจัดการเรื่องเวลา โดยกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานจัดการอบรมเป็นขั้นตอนได้อย่างเหมาะสม, พึงพอใจที่ได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับครูต่างโรงเรียน ทำให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการทำงานและการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน, และพึงพอใจที่เกิดแนวคิดในการวางแผนพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา ( Tablet ) และการจัดทำแผนการสอนของตนเองได้ และร้อยละ 1.64 มีความพึงพอใจในทุก ๆ อย่าง เกี่ยวกับการจัดฝึกอบรมในครั้งนี้ และอยากให้มีการจัดอบรมอย่างนี้ขึ้นอีกในทุก ๆ ปี ตามลำดับ สิ่งที่ควรปรับปรุง ผู้เข้ารับการอบรมตาม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ส่วนใหญ่ร้อยละ 47.62 มีข้อเสนอแนะว่า ควรจัดหาสถานที่อบรมที่กว้างขวางมากกว่านี้ เพราะเกิดความคับแคบและแออัดมากเกินไป ช่องทางเดินเข้าออกลำบาก และพื้นที่การวางอุปกรณ์ประกอบการอบรมไม่สะดวก ควรจัดหาปลั๊กไฟพวงสำหรับชารท์ให้กับเครื่องแท็บเล็ตของผู้เข้าอบรมให้มากกว่านี้ เพราะมีไม่เพียงพอ และควรจัดโต๊ะ เก้าอี้ และสถานที่สำหรับให้ผู้เข้าอบรมนั่งรับประทานอาหารให้ได้สะดวกมากกว่านี้ เพราะไม่มีสถานที่นั่งรับประทานอาหาร รองลงมาคือ ร้อยละ 23.81 ให้ข้อเสนอแนะว่า วิทยากรบางท่านยังให้ความรู้ไม่ตรงประเด็นตามหัวข้อที่ได้นำเสนอ ควรตัดเนื้อหาในเรื่องไม่เกี่ยวข้องออก และควรอธิบายให้ช้ากว่านี้และปฏิบัติไปพร้อม ๆ กัน เพราะมีบางคนปฏิบัติตามไม่ทัน และผู้ช่วยวิทยากรประจำกลุ่มมีน้อยทำให้ดูแลไม่ทั่วถึง ควรสรรหาบุคลากรมาคอยให้ความช่วยเหลือให้มีจำนวนมากกว่านี้ และร้อยละ 14.29 ควรกำหนดระยะเวลาในการอบรม สัดส่วนของการอบรมระหว่างภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้เหมาะสมมากกว่านี้ และร้อยละ 9.52 แนะนำให้จัดอาหารและเครื่องมือให้มีมากกว่านี้ เพราะอาหารมีไม่เพียงพอ ตามลำดับ 8 . สรุปและอภิปรายผล จากการศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมตาม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 คณะดำเนินงานขออภิปรายผล ดังนี้ ด้านกระบวนการ ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( ด้านวิทยากร ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( ด้านการให้บริการ ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจโดยรวม เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( ด้านความรู้ความเข้าใจ ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจโดยรวม เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( ด้านการนำความรู้ไปใช้ ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจโดยรวม เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( สรุปผล จากการประมวลผลคะแนนความพึงพอใจโดยรวมในแต่ละด้าน ผลปรากฏว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตาม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โดย ภาพรวมอยู่ ในระดับมาก ( 9. ข้อเสนอแนะในการจัดฝึกอบรมครั้งต่อไป ในการ ดำเนินงานฝึกอบรม ตาม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ( tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 คณะผู้จัดทำได้นำผลที่ได้จากการศึกษาข้อมูลของผู้เข้ารับการอบรม คณะดำเนินงาน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้นำมาหาข้อสรุป เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการจัดการอบรมในครั้งต่อไป ดังนี้ 9.1 ด้านการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม ควรจะมีการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้เข้าอบรมก่อนการจัดอบรม เช่น ความรู้เดิม อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน เป็นต้น เพื่อนำมาจัดทำหลักสูตรและกำหนดการจัดรูปแบบของกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้เข้าอบรม เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าตามที่คาดหวังได้อย่างมีประสิทธิภาพ 9.2 ด้านการให้บริการและสถานที่จัดฝึกอบรม ควรจัดหาสถานที่ให้เหมาะสมกับจำนวนผู้เข้าอบรม ไม่ควรคับแคบและอัดแออัด ควรจะมีช่องทางเดินไปมาที่สะดวก สำหรับให้วิทยากรและผู้ช่วยจะได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือได้อย่างสะดวก หากแออัดเกินไปจนทำให้ไม่สะดวกในการจัดวางสื่อ อุปกรณ์ที่จะต้องปฏิบัติในการอบรม จะทำให้ผู้เข้ารับการรมรู้สึกอึดอัด ไม่มีสมาธิในการฝึกอบรม อาจมีกระทบกระทั่งกันโดยไม่ได้ตั้งใจ ส่งผลต่อสภาพจิตใจ และอาจทำให้การจัดฝึกอบรมไม่บรรลุตามเป้าหมายได้ การแก้ปัญหาความนี้โดยอาจขยายเวลาเพิ่มขึ้น และแบ่งจำนวนผู้เข้าอบรมในแต่ละรุ่นให้ลดลง เพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อที่ของห้องที่ใช้อบรม และควรสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมภายให้ห้องอบรม ให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนากระบวนเรียนรู้ที่ดีให้กับผู้เรียนอบรม ซึ่งจะส่งผลการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล และด้านการให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม ควรจัดหาโต๊ะ เก้าอี้ และสถานที่สำหรับให้ผู้เข้าอบรมนั่งรับประทานอาหารให้ได้สะดวกมากกว่านี้ ไม่ควรนำอาหารและเครื่องดื่ม เข้ามานั่งรับประทาน ภายในห้องจัดอบรม เพราะอาจทำให้เกิดความสกปรก ส่งกลิ่นรบกวน และอาจทำความเสียหายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับการอบรมได้ 9.3 ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยี ควรติดตั้งสายไฟฟ้าและปลั๊กไฟสำหรับใช้ในการชารท์แบตเตอรี่เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องแท็บเล็ตที่ใช้สำหรับฝึกอบรม ให้มีความปลอดภัย และเพียงพอต่อจำนวนเครื่องที่ใช้สำหรับอบรม เพราะหากแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ที่ใช้ฝึกอบรมหมดระหว่างการฝึกอบรม ก็จะทำให้การฝึกอบรมของผู้เข้าอบรมหยุดชะงัก เกิดความไม่ต่อเนื่อง และเสียเวลาได้ และควรติดตั้งอุปกรณ์ปลั๊กไฟฟ้าให้ความปลอดภัย ได้มาตรฐาน มีความเป็นระเบียบ และมีความสะดวกในการใช้งาน ควรติดตั้งอยู่ตามโต๊ะต่าง ๆ และไม่ควรวางสายไฟฟ้าโยงใยอย่างไม่เป็นระเบียบ เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้เข้าอบรมได้ ควรจะมีอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยจากไฟฟ้ารั่วและไฟฟ้ารัดวงจรด้วย 9.4 ด้านระยะเวลาให้การจัดอบรม ควรจะขยายระยะเวลาในการฝึกอบรมให้มากกว่านี้ เนื่องจากมีเนื้อหาสาระมาก และเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเรียนรู้ และฝึกทักษะให้เกิดชำนาญมากกว่านี้ แต่ไม่ควรเกินเวลาปกติของราชการ เพราะมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลายคน มีบ้านหรือที่พักอยู่ห่างไกลต้องใช้เวลาเดินทางกลับ ข้อเสนอแนะอื่น 10.1 เนื่องจากโรงเรียนในสังกัดหลายมากตั้งอยู่พื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวก เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับเครื่องแท็บเล็ต ต้องนำส่งซ่อมยังศูนย์บริการที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเกิดความลำบากในการขนส่ง ดังนี้จึง ควรน่าจะมีการสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริการซ่อมบำรุงประจำศูนย์เครือข่ายฯ โดยจัดฝึกอบรมพัฒนาทีมครูแกนนำที่ให้มีความรู้ความสามารถ คอยให้การช่วยและให้คำแนะนำเพื่อนครูภายในศูนย์เครือข่ายฯ เดียวกันได้ 10.2 ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงเรียนจัดทำระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ อินทราเน็ตภายในโรงเรียน เพื่อเป็นช่องทางให้นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลและเข้าถึงแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นจากที่มีอยู่ในเครื่องแท็บเล็ต และสามารถสร้างประสบการณ์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ให้กับนักเรียนได้มากขึ้น 10.3 ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาครูผู้สอนในสาขาวิชาต่าง ๆ ให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์สื่อบทเรียนอิเล็คทรอนิกส์ และแอพพลิเคชั่น (Application) ในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย และสามารถนำไปใช้สอนได้จริงให้กับนักเรียนตามความเหมาะสมกับสภาพบริบทในโรงเรียนตนเอง ทั้งนี้ยังเป็นการสร้างคลังความรู้ให้เกิดขึ้นภายในโรงเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างโรงเรียนได้ ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และพัฒนาวิชาชีพของตนเองให้มีความก้าวหน้าและทันสมัยมากยิ่งขึ้น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||